FREE MEETING: KEY TRENDS AND RISKS IN NFT GAMES– REGISTER

  • CONTACT
  • MARKETCAP
  • BLOG
CIS - Creative Investment Space
  • BOOKMARKS
  • หน้าหลัก
  • ข่าวลงทุนรอบโลก
    • ทั้งหมด
    • ตลาด FOREX
    • ตลาดสกุลเงินดิจิทัล
    • ตลาดหุ้นต่างประเทศ
    • ตลาดหุ้นไทย
  • ข้อมูลโบรกเกอร์
    • ทั้งหมด
    • Bitkub
    • eToro
    • FBS
    • GMI EDGE
    • TIFIA
  • บทวิเคราะห์กราฟ
    • ทั้งหมด
    • ตลาด FOREX
    • ตลาดสกุลเงินดิจิทัล
    • ตลาดหุ้นต่างประเทศ
    • ตลาดหุ้นไทย
  • กูรูลงทุน
    • ทั้งหมด
    • อับดุลลงทุน ถามมาตอบได้
    • เปโดร พุกกะมาน
  • เกี่ยวกับเรา
Reading: เข้าใจการใช้งาน (Indicator) เพื่อลดความผิดพลาดในการลงทุน
Share
  • bitcoinBitcoin(BTC)$22,991.00
  • ethereumEthereum(ETH)$1,566.29
  • USDEXUSDEX(USDEX)$1.08
  • tetherTether(USDT)$1.00
  • usd-coinUSD Coin(USDC)$1.00
  • binancecoinBNB(BNB)$304.68
  • rippleXRP(XRP)$0.408939
  • binance-usdBinance USD(BUSD)$1.00
  • cardanoCardano(ADA)$0.380769
  • dogecoinDogecoin(DOGE)$0.087641
CIS - Creative Investment SpaceCIS - Creative Investment Space
Aa
Search
  • หน้าหลัก
  • ข่าวลงทุนรอบโลก
    • ทั้งหมด
    • ตลาด FOREX
    • ตลาดสกุลเงินดิจิทัล
    • ตลาดหุ้นต่างประเทศ
    • ตลาดหุ้นไทย
  • ข้อมูลโบรกเกอร์
    • ทั้งหมด
    • Bitkub
    • eToro
    • FBS
    • GMI EDGE
    • TIFIA
  • บทวิเคราะห์กราฟ
    • ทั้งหมด
    • ตลาด FOREX
    • ตลาดสกุลเงินดิจิทัล
    • ตลาดหุ้นต่างประเทศ
    • ตลาดหุ้นไทย
  • กูรูลงทุน
    • ทั้งหมด
    • อับดุลลงทุน ถามมาตอบได้
    • เปโดร พุกกะมาน
  • เกี่ยวกับเรา
Follow US
Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved
CIS - Creative Investment Space > Blog > กูรูลงทุน > ทั้งหมด > เข้าใจการใช้งาน (Indicator) เพื่อลดความผิดพลาดในการลงทุน
กูรูลงทุนทั้งหมด

เข้าใจการใช้งาน (Indicator) เพื่อลดความผิดพลาดในการลงทุน

CIS Admin
Last updated: 2022/12/10 at 3:15 PM
CIS Admin Published May 22, 2022
Share

ก่อนหน้านี้เราได้ทำความเข้าใจถึงองค์ประกอบของกราฟราคา และกลไกที่ทำให้ราคาของสินทรัพย์จากตลาดระดมทุน มีการขึ้นลงอยู่ตลอดเวลาไปแล้ว วันนี้ Creative Investment Space จะมาแนะนำสิ่งที่เรียกว่า ‘อินดิเคเตอร์ (Indicator)’ เครื่องมือที่เปรียบเสมือน ‘ตัวช่วย’ สำหรับนักลงทุนสายเทคนิคคอล เพื่อให้ย่นเวลา และเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์ราคาให้กับนักลงทุน 

Contents
แล้วอินดิเคเตอร์นั้นคืออะไร และทำงานอย่างไร?1. อินดิเคเตอร์ที่บ่งบอกแนวโน้มราคา (Trend Indicator)2. อินดิเคเตอร์ที่ใช้วัดอัตราเร่งของราคา (Momentum Indicator)3. อินดิเคเตอร์แสดงถึงความผันผวนราคา (Volatility Indicator)4. อินดิเคเตอร์ที่ใช้วัดปริมาณซื้อขาย (Volume Indicator)

แล้วอินดิเคเตอร์นั้นคืออะไร และทำงานอย่างไร?

เว็บไซต์ Tradimo ได้นิยามไว้ว่าอินดิเคเตอร์นั้นคือ ‘เครื่องมือที่ช่วยให้การวิเคราะห์กราฟราคามีความละเอียด และแม่นยำมากขึ้น’ สำหรับการลงทุนสายเทคนิคคอลนั้น อินดิเคเตอร์ เป็นตัวชี้วัดที่ได้จากการเก็บข้อมูลทางสถิติในอดีต เพื่อสังเกตุ ‘สัญญาน’ ที่จะเกิดขึ้นกับกราฟราคาในอนาคต 

.

แน่นอนว่าอินดิเคเตอร์แต่ละตัวนั้นถูกสร้างขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน อย่างเช่น EMA นั้นใช้สำหรับการวิเคราะห์แนวโน้ม หรือ MACD ที่ใช้สังเกตุการกลับตัวของราคา นักลงทุนจึงควรที่จะใช้งานอินดิเคเตอร์หลายตัวประกอบกัน เพื่อความแม่นยำในการวิเคราะห์ แต่อย่างที่กูรูหลายๆ ท่านมักจะย้ำเตือนว่า ‘ไม่มีอินดิเคเตอร์ไหนที่ดีที่สุด และแม่นยำ 100%’ การบริหารความเสี่ยงจึงยังคงเป็นหัวใจหลักของการลงทุน เพื่อที่จะสามารถเอาตัวรอดในตลาดได้ในระยะยาว

.

การใช้งานอินดิเคเตอร์จึงต้องเข้าใจก่อนว่า เครื่องมือที่เราจะใช้นั้นเป็นเครื่องมือประเภทไหน และถูกใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์แบบใด โดยประเภทของอินดิเคเตอร์นั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ‘Lagging Indicator’ เครื่องมือที่ให้สัญญานยืนยันพฤติกรรมของราคาในปัจจุบัน และ ‘Leading Indicator’ เครื่องมือที่ใช้พยากรณ์ราคาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

.

โดยหากแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน อินดิเคเตอร์แบ่งได้ทั้งหมด 4 ประเภท 

1. อินดิเคเตอร์ที่บ่งบอกแนวโน้มราคา (Trend Indicator)

เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มราคาที่ได้รับความนิยม และง่ายต่อการใช้งานในปัจจุบันคงจะหนีไม่พ้น ‘MA (Moving Average)’ หรือเส้นค่าเฉลี่ยของราคาที่สามารถบ่งบอกแนวโน้มได้ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผู้ใช้งานกำหนด อย่างเช่น MA 10 หมายถึงเส้นค่าเฉลี่ยราคา 10 ของกราฟราคาสินทรัพย์ 10 แท่งล่าสุด

.

หากเราต้องการที่จะเทรดในระยะสั้น เมื่อราคาเข้าใกล้เส้น MA 10 จึงเป็นจุดที่ควรพิจารณาเข้าซื้อ เพราะมีแนวโน้มว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นต่อในอนาคต ดังนั้นเพื่อความแม่นยำของการใช้งานอินดิเคเตอร์ MA จึงควรกำหนดระยะเวลาของราคาเฉลี่ยทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวเพื่อดูแนวโน้มทิศทางของราคาในภาพรวม นักลงทุนส่วนใหญ่จึงนิยมใช้งาน MA10, MA50 และ MA 200 ประกอบการตัดสินใจ

.

แต่ MA นั้นเป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Lagging Indicator ที่มีความล่าช้าในการกำหนดสัญญาน จึงมีการปรับปรุงโดยการตั้งค่าการคำนวนโดยให้นำ้หนักกับราคาในปัจจุบันมากกว่าราคาในอดีต เส้นราคาเฉลี่ยจึงมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาได้ฉับพลันกว่า และสร้างขึ้นเป็นอินดิเคเตอร์ตัวใหม่อย่าง EMA (Exponential Moving Average) ที่ถึงแม้ว่าจะเป็น Lagging Indicator เช่นเดียวกัน แต่จะมีการส่งสัญญานที่รวดเร็วกว่า 

.

2. อินดิเคเตอร์ที่ใช้วัดอัตราเร่งของราคา (Momentum Indicator)

เมื่อเราทราบแนวโน้มของราคา สิ่งต่อไปที่จำเป็นจะต้องสังเกตุคือการดูโมเมนตัมของราคา ว่าการในทิศทางที่ราคากำลังมุ่งหน้าไปนั้นมีความเร่งมากเพียงใด โดย Momentum Indicator ที่ง่ายต่อการใช้งาน และมีความแม่นยำ คือ RSI (Relative strenght index) ซึ่งเป็น Leading Indicator เพื่อสังเกตุว่าแรงซื้อ และแรงขาย มากกว่ากัน 

.

การแสดงผลของ RSI นั้นจะแสดงผลในรูปแบบของตัวเลขระหว่าง 1-100 โดยในเบื้องต้นนั้นหาก RSI มีค่ามากกว่า 70 แสดงว่าสินทรัพย์ตัวดังกล่าวกำลังอยู่ในสถานะ ‘Overbought หรือมีแรงซื้อมากเกินไป’ จึงมีแนวโน้มว่าในอนาคตราคาจะมีการปรับตัวลงมาเนื่องจากเมื่อมีแรงซื้อที่ดันราคาสินทรัพย์ขึ้นไป ย่อมมีนักลงทุนอีกกลุ่มที่ต้องการจะขายทำกำไร และหาก RSI มีค่าต่ำกว่า 30 จะเข้าสู่สถานะ Oversold หรือมีแรงขายมากเกินไป ที่ทำให้ราคาตกลงอย่างรวดเร็ว นักลงทุนจึงตัดสินใจเข้าซื้อเนื่องจาก ต้องการที่จะซื้อของถูก จึงเป็นสัญญานที่อาจทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต

.

RSI นั้นยังสามารถใช้เพื่อในการวิเคราะห์ร่วมกับอินดิเคเตอร์อื่นๆ ได้อีกมากมาย เช่นการสังเกตุความขัดแย้งกัน (Divergence) ของทิศทางราคา และ RSI ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญานที่บ่งบอกถึงการกลับตัวของราคาได้อีกด้วย

.

3. อินดิเคเตอร์แสดงถึงความผันผวนราคา (Volatility Indicator)

ความผันผวนนั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับตลาดระดมทุน และเป็นตัวบ่งชี้ถึงการความรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงราคาในช่วงเวลาที่กำหนด การราคาที่เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นย่อมหมายถึงความผันผวนที่มากขึ้น เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงราคาที่ช้าลงย่อมทำให้ความผันผวนลดลง 

.

ตัวอย่างของเครื่องมือที่ช่วยประเมินความเสี่ยงทางด้านความผันผวน และกรอบของราคาที่ได้รับความนิยมนั้นมีอยู่มากมาย แต่ทาง CIS แนะนำให้ใช้ BB (Bollinger Bands) ซึ่งเป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Lagging Indicator เพราะนอกจากจะง่ายต่อการใช้งาน และสามารถใช้หาแนวรับแนวต้าน BB จึงเป็นอินดิเตอร์ในดวงใจของนักลงทุนมือใหม่ ไปยันนักลงทุนชั้นเซียน

.

โครงสร้างของ BB นั้นคือการรวมตัวกันของ MA 20 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ Standard Dividation โดยหน้าตาของ BB จะมีเส้น MA 20 วิ่งอยู่ตรงกลาง และมีเส้น SD สองเส้นห่อหุ้ม MA 20 ไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นกรอบความผันผวนของราคา ยิ่ง SD ทั้งสองมีระยะห่างกันมากเท่าใด นั้นแสดงถึงความผันผวนของราคาที่มากเท่านั้น อีกทั้งเส้น SD ทั้งสองยังทำหน้าที่เป็นแนวรับ-แนวต้านภายในกรอบราคาดังกล่าวอีกด้วย

4. อินดิเคเตอร์ที่ใช้วัดปริมาณซื้อขาย (Volume Indicator)

อย่างที่ได้กล่าวไปว่าการสังเกตุปริมาณซื้อขายนั้นความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นจุดที่บ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าจุดใดที่เป็นแนวรับ-แนวต้าน และยังทำให้เห็นภาพความชัดเจนว่าทิศทางราคาที่กำลังมุ่งหน้าไปนั้นมีความแข็งแกร่งเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่นหากราคาสินทรัพย์มีการปรับตัวขึ้นเรื่อยๆ จนไปชนแนวต้าน แต่กลับมีปริมาณซื้อที่เบาบาง นักลงทุนจึงสามารถคาดการณ์ได้ว่า ราคาจะมีการกลับตัวเมื่อกราฟชนแนวต้าน เพราะปริมาณซื้อที่ไม่มากพอ

.

On-Balance volume หรือ OVB เป็น Leading indicator ที่แสดงถึงการคำนวนปริมาณซื้อ-ขายสะสม โดยหากปริมาณซื้อในกราฟก่อนหน้าเป็นบวก จะนำส่วนต่างไปรวมกับปริมาณซื้อขายสะสมก่อนหน้า และหากปริมาณปริมาณขายเป็นลบ จะนำไปหักออกแทน ทำให้เราเห็นได้ว่าปริมาณซื้อขาย ณ ขณะนั้นเป็นอย่างไร 

.

สิ่งที่นักลงทุนต้องจดจำไว้เสมอคือ ‘ไม่มีอินดิเคเตอร์ใดที่แม่นยำที่สุด’ การวิเคราะห์กราฟราคาควรที่จะใช้งาน อินดิเคเตอร์หลากหลายวัตถุประสงค์ และหลากหลายประเภทเข้าประกอบการตัดสินใจ แต่จงอย่าลำพองไปว่าการวิเคราะห์อย่างรอบคอบจะช่วยให้เราสามารถเทรดชนะทุกครั้ง เพราะแม้คุณจะเชื่อมั่นว่าตัวเองสามารถวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำ และรอบคอบเพียงใด แต่ไม่มีทางที่จะเก่งไปกว่าตลาดแน่นอน ดังนั้นจงอย่าลืมที่จะตั้ง Stop loss และบริหารหน้าตักลงทุนให้ดี เพราะหากปราศจากสองสิ่งนี้ การลงทุนของคุณคงเป็นได้เพียงแค่ ‘การเสี่ยงโชค’ เท่านั้นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง:

แนวรับแนวต้าน และทิศทางของตลาด

https://www.creativeinvestment.space/influencer/support-resistance

Reference

https://www.ig.com/en/trading-strategies/10-trading-indicators-every-trader-should-know-190604

https://www.investopedia.com/terms/i/indicator.asp

https://learn.tradimo.com/technical-analysis-how-to-work-with-indicators/overview

https://th.tradingview.com/scripts/volatility/

https://admiralmarkets.sc/th/education/articles/forex-indicators/bollinger-bands-strategy

https://mtrading.com/th/education/articles/forex-indicators/top-3-volume-indicators-for-enhanced-trading-th

You Might Also Like

ตลาดหุ้นฮ่องกง-เวียดนาม ยังน่าลงทุนอยู่อีกหรือไม่?

ตราสารหนี้สีเขียว

ตามติดเทรนด์ EV

ตราสารหนี้ 02

TAGGED: DeFi, การลงทุนยุคใหม่, ความรู้การลงทุน, นักลงทุน, ลงทุน, สินทรัพย์, หุ้น, เซียนหุ้น, แนวต้าน, แนวรับ

Sign Up For Daily Newsletter

Be keep up! Get the latest breaking news delivered straight to your inbox.
By signing up, you agree to our Terms of Use and acknowledge the data practices in our Privacy Policy. You may unsubscribe at any time.
CIS Admin May 22, 2022
Share this Article
Facebook Twitter Email Copy Link Print
Previous Article เทียบบัญชีเงินฝากประจำแต่ละธนาคาร
Next Article ลงทุน Forex เริ่มต้นอย่างไร

Follow Us on Socials

We use social media to react to breaking news, update supporters and share information

Facebook Youtube
CIS - Creative Investment Space

CIS : Creative Investment Space ศูนย์รวมข้อมูลการลงทุนเชิงสร้างสรรค์ เพราะการลงทุนเริ่มต้นจากการเรียนรู้

แผนผังเว็บไซต์

หน้าหลัก
โบรกเกอร์
กูรูลงทุน
ข่าวลงทุนรอบโลก
บทวิเคราะห์กราฟ
เกี่ยวกับเรา

ติดตามเรา

Facebook Youtube

คำเตือนความเสี่ยงจากการลงทุนและจุดยืนของ CIS

CIS เป็นเพียงเว็บไซต์ให้ข้อมูลด้านการลงทุน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ด้านการลงทุนแก่ผู้ที่สนใจเท่านั้น ไม่มีการระดมทุน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแชร์ลูกโซ่ใด ๆ และเมื่อสมาชิกที่ศึกษาข้อมูลในเว็บไซต์นี้นำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการลงทุนของตนเอง ผลลัพธ์ที่ได้จากการลงทุนอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล การลงทุนต้องใช้เวลาทุ่มเทและศึกษาอย่างถ่องแท้ และมีความเสี่ยง รวมถึงการสูญเสียเงินลงทุนของนักลงทุน ประสิทธิภาพการวิเคราะห์หรือการนำเสนอข้อมูลที่ผ่านมาในตลาดไม่ได้บ่งบอกถึงผลลัพธ์ในอนาคต การลงทุนใด ๆ ถือเป็นความเสี่ยงของผู้ลงทุนเอง

Copyright © 2020 Creative Investment Space – All Rights Reserved

ข้อตกลงและเงื่อนไข

คำเตือนความเสี่ยงฉบับเต็ม

Removed from reading list

Undo
Welcome Back!

Sign in to your account

Lost your password?